Interview : ดร. ประพฤทธิ์ ทรงจิตรักษา

posted in: ATPAC Members Interview | 0

ดร. ประพฤทธิ์ ทรงจิตรักษา นักวิจัยวิศวกรรมด้านการคมนาคมและขนส่งจาก Texas Transportation Institute (TTI) Texas A&M University System (TAMUS) ปัจจุบันปัญหาการจราจรติดขัดและความปลอดภัยในการใช้ยวดยานพาหนะเป็นปัญหาหลักที่ต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วนโดยเฉพาะในเขตกรุงเทพและปริมณฑล กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงได้มีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้ในการพัฒนาคุณภาพของการจราจรและขนส่ง โดยสนับสนุนให้มีการประยุกต์ใช้ระบบการจราจรและขนส่งอัจฉริยะ (Intelligent Transportation System หรือ ITS) ในปี พ.ศ. 2548 ระบบ ITS เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการบริหารการจราจรและขนส่ง ตั้งแต่ระบบโครงสร้างพื้นฐาน การบริหารระบบ และการประเมินผลของระบบ โดยใช้ตัวชี้วัดที่เหมาะสม การบริหารการจราจรจะแบ่งเป็นสองส่วน ส่วนแรกจะเป็นการบริหารระบบสัญญาณควบคุมการจราจรโดยอัตโนมัติ ซึ่งมีใช้ในสหรัฐอเมริกาอย่างแพร่หลาย ระบบดังกล่าวสามารถปรับเปลี่ยนการควบคุมเพื่อให้เหมาะสมกับปริมาณ และลักษณะของผู้ใช้ถนน ส่วนที่สองจะเป็นการบริหารระบบทางด่วน (Freeway management) โดยมีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี … Continued

Interview : ดร. สโรช บุญศิริพันธ์

posted in: ATPAC Members Interview | 0

ดร. สโรช บุญศิริพันธ์ กับความท้าทายที่นำไปสู่การพัฒนา “ การวิจัยสาขาจราจรและขนส่ง เป็นเรื่องที่ใกล้ตัว เป็นปัญหาที่คนกรุงเทพฯ ต้องเจอกันทุกวัน ถือเป็นสาขาที่ค่อนข้างท้าทาย เนื่องจากปัญหาด้านจราจรขนส่ง และความปลอดภัยบนท้องถนนในแต่ละที่ แต่ละเมืองไม่เหมือนกัน ทำให้ไม่มีสูตรสำเร็จสำหรับแต่ละปัญหา ไม่สามารถนำทฤษฎีมาปรับใช้ได้ทันที” หลังจากที่ ดร. สโรช บุญศิริพันธ์ จบการศึกษาปริญญาตรีจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดร. สโรช ได้เริ่มต้นการทำงานในสายวิศวกรรมที่บริษัท Sumitomo Construction Company Ltd (Thailand) ในตำแหน่งวิศวกรโยธา จากนั้น ดร. สโรชได้เดินทางมาเรียนต่อระดับปริญญาโทที่ Georgia Institute of Technology ประเทศสหรัฐอเมริกา หลังจากจบแล้วได้ทำงานเป็นวิศวกรขนส่งที่บริษัทที่ปรึกษาทางด้านวิศวกรรมขนส่งและจราจร Grice and … Continued

Interview : รศ. ดร. สิริวัชร์ ฉิมพาลี

posted in: ATPAC Members Interview | 0

ในยุคแห่งเทคโนโลยีและนวัตกรรมในปัจจุบันนี้ เทคโนโลยียานยนต์ซึ่งเป็นเทคโนโลยีหนึ่งที่มีความ สำคัญต่อชีวิตประจำวัน ของมนุษย์มีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงในทุกๆ วัน เทคโนโลยีพลังงานและ วิศวกรรมเคมีเป็นเทคโนโลยีสำคัญที่ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว รศ. ดร. สิริวัชร์ ฉิมพาลี รองศาสตราจารย์วิจัย จาก Department of Chemical Engineering, University of South Carolina มลรัฐ South Carolina ประเทศสหรัฐ อเมริกา มีความเชี่ยวชาญในด้านระบบเซลเชื้อเพลิง (Fuel Cell) ในรูปแบบ ต่างๆ เช่น PEMFC (Proton Exchange Membrane Fuel Cell) ด้วยผลงานการวิจัยจำนวน มากและ … Continued