Interview นายกิตติภัฏ คำภา

posted in: ATPAC Members Interview | 0

วันนี้เรามาทำความรู้จักกับ นายกิตติภัฏ คำภา หรือที่เราเรียกกันว่า “คุณบ๊อต” นักศึกษาระดับปริญญาเอก คณะวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ (Electrical and Computer Engineering) ที่ University of Florida เมือง Gainesville มลรัฐ Florida ซึ่งอีกไม่นานคุณบ๊อตก็จะสำเร็จการศึกษาและเป็นวิศวกรปริญญาเอกรุ่นใหม่จากประเทศสหรัฐอเมริกาที่สร้างความภาคภูมิใจให้แก่ประเทศไทย

 

คุณบ๊อตสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทในสาขาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ (Electrical and Computer Engineering) จาก University of Florida และระดับ ปริญญาตรีในสาขาวิศวกรรมไฟฟ้าจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คุณบ๊อตมีความสามารถที่โดดเด่นตั้งแต่ยังเป็น นิสิตอยู่ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีรางวัลที่รับรอง ความสามารถมากมาย เช่น รางวัลเหรียญเงินคณิตศาสตร์โอลิมปิกระดับประเทศ และได้คะแนนสูงสุดในการสอบวิชาฟิสิกส์ ระดับชาติในปี พ.ศ. 2539 รางวัลทุนการวิจัย The Prince of Thailand จากวิศวกรรม สถานแห่ง ประเทศไทยในปี พ.ศ. 2543 รางวัลโครงการรางวัลนวัตกรรมแห่งประเทศไทยในปี พ.ศ. 2544 และรางวัลอื่นๆ หลังจากที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีแล้ว คุณบ๊อตก็ได้รับทุนการศึกษาพร้อมกับ มีอกาสทำงานในหน้าที่ผู้ช่วยนักวิจัยกับ Dr. Kenneth C. Slatton ซึ่งเป็น Associate Professor และ Dr. Jose C. Principe ซึ่งเป็น ศาสตราจารย์พิศิษฐ์ (Distinguished Professor) หรือศาสตราจารย์ที่มีความโดดเด่นในการผลิตผลงานต่างๆ ของภาควิชา Electrical and Computer Engineering, University of Florida ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 จนถึงปัจจุบัน

สาขาวิศวกรรมและเทคโนโลยีที่คุณบ๊อตเชี่ยวชาญ เป็นพิเศษคือ Machine Learning and Statistical Signal Processing และงานวิจัยที่ กำลังทำอยู่คือ “Structured Probabilistic Graphical Models for Unsupervised Segmentation” ซึ่งเกี่ยวกับการใช้ เครือข่ายความน่าจะเป็นและแบบจำลองทางสถิติในการวิเคราะห์ และจัดการกับระบบข้อมูลหลายมิติ (multidimensional data) ที่มีโครงสร้าง ความสัมพันธ์ซับซ้อนและมีขนาดใหญ่ เพื่อให้ง่ายต่อ การแสดงผล และสามารถประมวลข้อมูลดังกล่าวเพื่อใช้ประโยชน์ ในด้านต่างๆ เช่น object segmentation (การจำแนกและจัดกลุ่ม วัตถุ), data clustering (การแบ่งกลุ่มข้อมูล) และ data fusion (การรวมข้อมูล) เป็นต้น ซึ่งกระบวนการดังกล่าวได้ถูกออกแบบ ให้ทำงานอย่างอัตโนมัติ นอกจาก ประโยชน์ดังกล่าวข้างต้นแล้ว ความรู้ ทางด้าน probabilistic graphical models ยังเป็น สหสาขาวิชาชีพ (multidisciplinary) ที่กำลังเป็น ที่สนใจอยู่ในขณะนี้ทีเดียว

อะไรคือ แรงจูงใจ ให้คุณบ๊อตสนใจ ศึกษาวิจัยในเรื่องดังกล่าว ทีมงาน OSTC ได้มีโอกาสพูดคุยและสัมภาษณ์ คุณบ๊อต และขอ นำเสนอ แก่ท่านผู้อ่าน ดังนี้

คำถาม ระหว่างที่คุณบ๊อตยังศึกษาอยู่ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยคุณบ๊อตได้รับรางวัลต่างๆ มากมาย ขอให้คุณบ๊อตแนะนำวิธีการศึกษาและ พัฒนาตนเองที่ทำให้คุณบ๊อตเป็นนักเรียนดีเด่นตลอดมา?

ในจุดนี้ผมคิดว่าเป็นความโชคดีของผมที่ได้มีโอกาสอยู่ในสภาพแวดล้อมทางการศึกษาและการคิดค้น
นวัตกรรมที่ดีมาโดยตลอด ผมได้เห็นเพื่อนๆ รุ่นพี่และรุ่นน้องมีความกระตือรือร้นในการ เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
อยู่เสมอ มีโอกาสได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในสิ่งต่างๆ กับผู้คนจากต่างสาขาอยู่ตลอดเวลา ในวง
สนทนาจะมีความคิดแปลกๆออกมามากมายให้ถกเถียงกัน ประสบการณ์ดังกล่าวเป็นการจุดประกาย
ความคิดเรื่องนวัตกรรมเป็นอย่างดี จริงๆ แล้วรางวัลต่างๆ ที่ได้มานั้น ไม่ใช่เพราะ ผมคนเดียว แต่เป็น เพราะการทำงานร่วมกันเป็นทีมระหว่าง ผมและเพื่อนๆ ร่วมอุดมการณ์ที่มีความชำนาญในด้านต่างๆ กัน
พวกเราระดมความคิดและทำงานร่วมกันอย่างหนัก ทำให้ผลงานที่ออกมามีคุณภาพและน่าสนใจ ทั้งใน
ด้านเทคนิคและการให้ประโยชน์แก่ส่วนรวม นอกจากนี้พวกเรายังได้รับคำแนะนำและการสนับสนุน
อย่างเต็มที่จากอาจารย์ที่ปรึกษาของผมในขณะนั้นนั้นคือ ดร.เอกชัย ลีลารัศมี ซึ่งเป็น
ผู้ที่จุดไฟทางความคิดให้กับพวกเราได้ทุกๆ ครั้งที่เจอ

คำถาม เพราะอะไรคุณบ๊อตถึงเลือกศึกษาในสาขาวิชา Electrical and Computer Engineering และค้นพบความสนใจทางด้านนี้เมื่อไหร่ และอย่างไร?

มันน่าจะเริ่มมาจากการที่คุณพ่อของผมเป็นผู้ที่ชอบประดิษฐ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและเครื่องจักรไว้ใช้เองและ
คุณแม่ก็สนับสนุนการวิจัยในวัยเด็กของผมอย่างเต็มรูปแบบ โดยหาหนังสือ “ชัยพฤกษ์วิทยาศาสตร์” มา
ให้อ่านอยู่เสมอ ผมชอบเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่างๆ ที่มองไม่เห็นแต่ดูเหมือนจะมีอยู่และสัมผัสได้ นั่นทำ
ให้ผมเริ่มสนใจเกี่ยวกับไฟฟ้า ในแง่ที่เป็นเรื่องลึกลับสำหรับผมในวัยเด็ก เมื่อผมศึกษาอยู่มัธยมศึกษา-
ตอนปลายที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ผมได้เรียนรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติต่างๆ ของไฟฟ้าอย่างชัดเจนมากขึ้น
ทั้งในแง่มุมของหลักการฟิสิกส์และคณิตศาสตร์ และในตอนนั้นผมเริ่มดูภาพยนตร์ประเภท sci-fi มากขึ้น
จึงได้เห็นอุปกรณ์ไฮเทคต่างๆ ในภาพยนตร์ และมีความรู้สึกอยากทำให้อุปกรณ์เหล่านั้นเป็นจริงขึ้นมา
ผมจึงมีความมุ่งมั่นในด้านวิศวกรรมไฟฟ้ามากขึ้นในช่วงวัยรุ่น และได้เลือกศึกษาต่อในแผนกไฟฟ้า ตอนขึ้นชั้นปีที่ 2 นับตั้งแต่นั้น ความสนใจของผมต่อไฟฟ้าได้เปลี่ยนจากความลึกลับในระดับอะตอม มาเป็นความท้าทายในการประดิษฐ์ในสิ่งที่คนในประเทศต่างๆ ควรมีในอนาคต

เมื่อผมมีโอกาสศึกษาต่อในระดับปริญญาโท สภาพแวดล้อมใน ขณะนั้นทำให้ความสนใจของผมเปลี่ยน ไปอีกครั้ง โดยที่ผมมองว่า อุปกรณ์ไฟฟ้าที่จับต้องได้นั้นเปรียบเหมือนเป็น “ร่างกาย” (body) และคงจะ ดีไม่น้อยถ้าเราสามารถทำให้ “ความฉลาด” (intelligence) เกิดขึ้นในกลไกเหล่านั้นได้ ซึ่งทำให้ผมลงเอย ที่สาขา Machine Learning ในระดับปริญญาเอกขณะนี้

ที่ผ่านมาผมไม่เคยตอบคำถามนี้อย่างจริงจังซักที ต้องขอขอบคุณ มากครับที่ทำให้ผมได้มีเวลาได้คิดย้อน กลับไป ตอนนี้ผมรู้สึกว่า ความสนใจของผมเองก็เปลี่ยนไปตามเหตุตามปัจจัยต่างๆ ที่เข้ามา กระทบ อีกหลายเดือนข้างหน้าความสนใจของผมก็คงจะต่างจากใน ตอนนี้ ทำให้ผมนึกถึงอีกหลายๆ คนที่คิดว่า ยังไม่รู้ว่าตัวเองสนใจอะไร จะทำอะไรดี ว่าไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใด เพราะความสนใจของคน ก็คง เปลี่ยนไปได้เรื่อยๆ คงเป็นสิ่งที่น่าจะสำคัญกว่าที่จะ “เริ่มทำ” อะไรซักอย่างได้เมื่อไร เมื่อเริ่มนับหนึ่ง ได้แล้ว นับสองนับสามคง ตามมาได้ง่ายขึ้น ผมขอร่วมเป็นกำลังใจให้ครับ

คำถาม การศึกษาวิจัยในสาขา Machine Learning and Signal
Processing มีความสำคัญต่อสังคมในปัจจุบันและอนาคตอย่างไร?

ความสำคัญของสาขา machine learning and signal processing มีมากขึ้นเนื่องจาก ในปัจจุบันเรามี
เซ็นเซอร์ (Sensor) เพื่อวัดเก็บข้อมูลชนิดต่างๆมากมาย เช่น วัดระดับน้ำในแม่น้ำวัดระดับสารเคมีใน
ชุมชนใกล้โรงงานอุตสาหกรรม กล้องวงจรปิด ที่จุดสำคัญต่างๆ และที่สำคัญในเวลานี้เซ็นเซอร์ได้ ถูกพัฒนาให้ มีขนาดเล็ก พกพาสะดวก และใช้ได้เอนกประสงค์มากขึ้น อย่างเช่นใน smart phone ที่มีกล้องถ่ายรูป ไมโครโฟน ที่วัดความเร่ง ที่วัดความ เข้มแสงรวมอยู่ในตัวเดียวกัน อีกทั้งยังมีความ
สามารถที่จะทำงาน ร่วมกันกับเซ็นเซอร์อื่นๆ เพื่อรวมเป็น sensor network ด้วย ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้
จะเห็นได้ว่าเรามีข้อมูลดิบ (data) มากมายซึ่ง จะมีค่าเท่ากับขยะกองโตถ้าเราไม่สามารถสกัด (extract) เอาเฉพาะ ส่วนที่เป็นสารสนเทศ (information) ที่เป็นประโยชน์ออกมาใช้ได้ ซึ่งการแก้ไขปัญหานี้เป็น
ความสำคัญของสาขา Machine Learning and Signal Processing สารสนเทศดังกล่าวมีประโยชน์
ต่อชีวิต ประจำวันของเราเป็นอย่างมาก นับตั้งแต่การเก็บสถิติและสร้างโมเดล เพื่อพยากรณ์อากาศ การคำนวณปริมาณฝนเพื่อวางแผนในเรื่อง ผลผลิตทางการเกษตร การคำนวณแนวโน้มของการจราจร
ที่จุดต่างๆ เพื่อวางแผนจัดตารางสัญญาณไฟจราจร หรือการขยายผิวการจราจร รวมไปจนถึงการเก็บ
และวิเคราะห์ข้อมูลทางการแพทย์เพื่อช่วยวินิจฉัยและช่วยชีวิตผู้ป่วย เป็นต้น

 

คำถาม งานวิจัยที่คุณบ๊อตกำลังทำอยู่ในขณะนี้มีความสำคัญและสามารถ
นำไปประยุกต์ใช้ต่อในสถานการณ์จริงอย่างไร? รวมถึงสามารถนำไปประยุกต์ใช้ต่อในประเทศไทยอย่างไร?

ผมจะขอยกตัวอย่างการประยุกต์ใช้ (applications) ในงานสามชิ้นที่ผมกำลังศึกษาอยู่ในขณะนี้ งานแรก
เกี่ยวกับเทคโนโลยี LiDAR ซึ่งเกี่ยวกับ การทำแผนที่ 3D (จริงๆ แล้ว 2.5D) ของภาคพื้นดิน จากทางอากาศ ผมได้ออกแบบ algorithm หรือชุดคำสั่งที่สร้างไว้ตามขั้นตอน โดยใช้ความรู้ ทาง Machine Learning ในการกรองเอาต้นไม้ ตึก รถ และสิ่งก่อสร้างของมนุษย์ ออกเพื่อให้เหลือแต่พื้นดิน
เท่านั้น แต่ในขณะเดียวกัน application ดังกล่าวก็มีความฉลาดพอ ที่จะเก็บรายละเอียดของผิวหน้าดิน
และทางน้ำไว้ได้ ซึ่งข้อมูลที่ได้นี้สามารถ นำไปใช้ในการวางแผนการเกษตร การอพยพเมื่อเกิดเหตุ น้ำท่วมหรือพายุ การวางแผนการจราจร เป็นต้น เพื่อให้งานดังกล่าว ได้ถูกนักวิจัยแหล่งน้ำสามารถ
นำไปใช้จริง (ภาพ A.1-A.2)

งานชิ้นที่สองเกี่ยวกับการใช้ Machine Learning ออกแบบระบบเพื่อให้เรือดำน้ำไร้คนขับสามารถ รับรู้และจดจำ (recognize) และจัดการกับวัตถุใต้น้ำได้จากการเรียนรรู้โครงสร้างของข้อมูล โดยไม่จำ เป็นต้องมีการสอนหรือได้รับการฝึกฝนจากมนุษย์ (unsupervised learning) และงานล่าสุดที่ผมทำ อยู่ในขณะนี้คือ การทำให้คอมพิวเตอร์ สามารถตัดสินใจได้ใกล้เคียงกับมนุษย์ว่ามีส่วนไหน ในรูปภาพ
ที่น่าจะเป็นวัตถุที่มีความหมายบ้าง ความน่าสนใจของงานนี้คือ คอมพิวเตอร์ สามารถจำแนกว่าวัตถุไหน
คืออะไรโดยไม่จำเป็นต้องได้รับการสอนจากมนุษย์ (ภาพ A.3 – A.5)

คำถาม คุณบ๊อตมีความมุ่งมั่นหรือเป้าหมายอย่างไรเมื่อสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก?

ผมปรารถนาที่จะมีส่วนร่วมในการทำประโยชน์ให้แก่เมืองไทยในสาขาที่ผมเชี่ยวชาญ และสนใจทำ
การวิจัยร่วมแบบ multidisciplinary และยินดีที่สุดที่จะร่วมงานกับนักวิจัยต่างสาขาที่มีจุดสนใจ ในเรื่อง
ของการเป็นผู้ประกอบการวิศวการ (engineering entrepreneur) ที่จะช่วยสร้างนวัตกรรมเพื่อคุณภาพ
ชีวิตครับ

 

คำถาม ในความคิดของคุณบ๊อต คนไทยทั้งที่อยู่ในประเทศไทยและ
ต่างประเทศสามารถทำหรือสร้างความเปลี่ยนแปลงเพื่อช่วยในการ
ปรับปรุงและพัฒนาวงการวิทยาศาสตร์ของประเทศไทยอะไรได้บ้าง?

ผมเชื่อเหลือเกินว่าประเทศไทยได้สร้างบุคลากรที่มีความ สามารถกระจายอยู่ทั้งในและต่างประเทศ บุคลากรที่มีมากมายนี้ สามารถร่วมมือกันได้ครับ ผมขอแบ่งปันแง่มุมที่ดีด้านหนึ่งที่ผม สังเกตเห็น และรู้สึกประทับใจในขณะที่ผมอยู่ในอเมริกา และผมได้มี โอกาสช่วยสอนนักเรียนระดับปริญญาตรี-โท-เอกในมหาวิทยาลัย และได้เห็นว่าวัฒนธรรมการกล้าพูดกล้าถามของคนที่นี่เป็นสิ่งที่ สำคัญมากๆ ในการพัฒนาความรู้และทักษะการคิดเชิงวิจารย์ (critical thinking) ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาสังคมแห่ง
องค์ความรู้ และจะเป็นเสมือนปฏิกริยาลูกโซ่ที่หล่อหลอมให้คนในสังคมดังกล่าวพัฒนาต่อไปจากรุ่นสู่รุ่น
อย่างยั่งยืน ผมจึงให้ความสำคัญกับวัฒนธรรม ขององค์กร และวัฒนธรรมการศึกษาของเยาวชน ค่อนข้างมาก เราสามารถสร้างเยาวชนที่มีคุณธรรมและความคิด (ไม่ใช่แค่ความรู้) ได้โดยการเป็น
ตัวอย่างที่ดี หรือหาตัวอย่างที่ดีมา เป็นแรงบันดาลใจให้เยาวชนเหล่านั้น เราน่าจะลงทุนลงแรงในเรื่อง การศึกษาในกลุ่มเด็กและเยาวชนให้มากขึ้น เพราะเยาวชนเป็นวัยที่มี การเรียนรู้สูงที่สุดช่วงหนึ่ง กระบวนการเรียนรู้ควรเป็นไปแบบ ครบวงจรให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ อย่างเช่น เมื่อเรียนรู้ เข้าใจ ก็ควรมีคำถามต่อว่าแล้วจะเอาไปทำอะไร เพื่ออะไร และมีประโยชน์ ในด้านใด นอกจากนี้ อีกสิ่งที่ช่วย
สนับสนุนวัฒนธรรมทางการศึกษา ที่ดีคือ การมีใจเปิดกว้างและมุ่งที่จะแก้ปัญหาเป็นหลัก และไม่ลงโทษ
ความเห็นที่แตกต่างจากบรรทัดฐานหรือค่านิยมเดิม ซึ่งจะทำให้ คนรุ่นใหม่มีความกล้าพูดกล้าแสดงออก
ที่แตกต่าง ซึ่งนำไปสู่สังคม แห่งองค์ความรู้ที่ยั่งยืนมากขึ้น

 

คำถาม สุดท้ายนี้ ขอให้เล่าความรู้สึกและความประทับใจกับการเข้ามา
ร่วมในเครือข่ายนักวิชาชีพไทยในอเมริกาและแคนาดา

ผมขออนุญาตเล่าความประทับใจที่มีโอกาสเข้าร่วมการประชุม ประจำปีของสมาคม ATPAC ที่เมือง Seattle รัฐ Washington เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ผมรู้สึกดีใจมากที่เห็นทุกๆ หน่วยงาน ทั้งจาก ประเทศไทยและจากประเทศสหรัฐอเมริกามีจิตใจมุ่งแก้ปัญหาของชาติอย่างจริงจัง ทุกๆ ท่านแบ่งปัน แลกเปลี่ยนความรู้ทั้งใน การประชุมและการพูดคุยนอกรอบ ผมจึงรู้สึกว่าหน่วยงาน Association of Thai Professionals in America and Canada (ATPAC) และ สำนักงานที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี ประจำสถาน – เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงวอชิงตัน (Office of Science and Technology (OSTC), Royal Thai Embassy, Washington D.C.) เป็นองค์กรที่ควรส่งเสริมและสนับสนุนเป็น อย่างยิ่ง ผมทราบว่าองค์กร ทั้งสองแห่งได้จัดการประชุมในประเทศไทยและในอเมริกาอยู่บ่อยครั้ง จึงขอเชิญชวนให้ผู้ที่สนใจมาเข้าร่วมกิจกรรมและการประชุม เพราะทุกความเห็นจากการประชุมมี ความหมายต่อการพัฒนาของชาติแน่ๆครับ

สุดท้ายนี้ ผมขอขอบคุณ OSTC สำหรับการทำงานหนักอยู่เบื้องหลัง ในการจัดกิจกรรมดีๆมากมายรวม ถึงการจัดการประชุมครั้งสำคัญ และสำหรับการเปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็นและหวังว่าข้อมูลดัง กล่าวจะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านนะครับ

 

หากท่านผู้อ่านสนใจและต้องการข้อมูลเพิ่มเติมของคุณบ๊อตสามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ ดังนี้
https://sites.google.com/site/kittipat/
http://kittipatkampa.wordpress.com/

 

Reference : http://www.ostc.thaiembdc.org/interview10.html

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *