Interview : ศ.ดร. วิฑูรย์ ปริญญาวิวัฒน์กุล

posted in: ATPAC Members Interview | 0

ศ.ดร. วิฑูรย์ ปริญญาวิวัฒน์กุล

กับทิศทางการเติบโตของผลิตภัณฑ์อาหารไทยในตลาดโลก

แม้ว่าผลิตภัณฑ์อาหารเกษตรจากประเทศไทยเป็นที่ยอมรับและกำลังเป็นที่นิยมในหลายๆ ประเทศ
ทั่วโลก แต่วิทยาศาสตร์ การอาหารและเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาอยู่ตลอดเวลา
ดังนั้น ผู้ผลิตจะ ต้องติดตามและศึกษาการเปลี่ยนแปลงของ เทคโนโลยีและผู้บริโภคอยู่เสมอ
เพื่อรักษาตำแหน่งผู้นำใน ตลาดส่งออกผลิตภัณฑ์อาหาร ศ.ดร. วิฑูรย์ ปริญญาวิวัฒน์กุล
จะมาเล่าให้เราฟังถึงเทคโนโลยี อุตสาหกรรมเกษตรและ วิทยาศาสตร์การอาหารใหม่ๆ รวมถึง
โอกาสในการเติบโตของอุตสาหกรรมส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารของประเทศไทย ในอนาคต

ปัจจุบัน ศ.ดร. วิฑูรย์ฯ ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์การอาหาร
(Department of Food Science) ที่ Louisiana State University เมือง Baton Rouge, Louisiana
ศ. ดร. วิฑูรย์ฯ สำเร็จการศึกษาระดับ ปริญญาเอกและปริญญาโทจากภาควิชาวิทยาศาสตร์-
การอาหารและเทคโนโลยี (Department of Food Science and Technology) University of
Georgia มลรัฐจอร์เจีย ประเทศสหรัฐอเมริกา และระดับ ปริญญาตรีจากสาขาวิชาพัฒนา
ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ศ.ดร. วิฑูรย์ฯ เป็นหัวหน้ากลุ่ม Agro-Industry ของสมาคม นักวิชาชีพไทยในสหรัฐอเมริกาและ
แคนาดา (The Association of Thai Professionals in America and Canada – ATAPC) ที่นำ
ความรู้และประสบการณ์ เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สัมผัส (sensory sciences) และเทคโนโลยีการ-
พัฒนาผลิตภัณฑ์ กลับมาถ่ายทอด ให้แก่ คณาอาจารย์ นักศึกษา ผู้ประกอบการ และผู้ที่สนใจอื่นๆ
ในประเทศไทยอยู่เป็นประจำ งานวิจัยที่ ศ.ดร. วิฑูรย์ฯ กำลังศึกษาอยู่ในขณะนี้คือการใช้สาร
ทดแทนเกลือและการลดการใช้เกลือในการผลิต ผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อช่วยลด ปัญหาที่เกิดจาก
การบริโภคเกลือแกง (โซเดียมคลอไลด์) ซึ่งอาจเป็นสาเหตุ ทำให้เกิดโรคต่างๆ ได้ เช่น ความดัน
โลหิตสูง, โรคไต และโรคอ้วน ซึ่งเกิดจากการบริโภคอาหารที่มี เกลือแกงในปริมาณสะสมที่มาก

สำนักงานที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน
(The Office of Science and Technology, Royal Thai Embassy, Washington DC – OSTC)
ได้พูดคุยและมีโอกาสได้ สัมภาษณ์ ศ.ดร. วิฑูรย์ฯ ถึงทิศทางของวงการวิทยาศาสตร์การอาหาร
และแนวทางในการพัฒนาเพื่อช่วย พัฒนาอุสาหกรรมอาหารของประเทศไทยในอนาคต ซึ่ง
ศ.ดร. วิฑูรย์ฯ ได้ให้ข้อคิดเห็นไว้ ดังนี้

คำถาม อะไรคือสาเหตุและแรงบันดาล ใจที่ทำให้อาจารย์มีความสนใจ เลือกศึกษาและ
ทำงานใน สาขาวิทยาศาสตร์การ อาหารและเทคโนโลยี (Food Science and
Technology)?

จริงๆ แล้ว สาขาวิทยาศาสตร์การอาหารและเทคโนโลยีไม่ใช่ วิชาอันดับแรกๆ ที่ผมให้ความสนใจ
แต่ก็ มีบุคคลสำคัญหลายท่าน โดยเฉพาะอาจารย์ที่ปรึกษาในสมัยที่ผมยังเป็นนักเรียน เช่น
ศาสตราจารย์ Larry R. Beuchat จาก University of Georgia, รองศาสตราจารย์
ดร. วิชัย หฤทัยธนาสันติ์ และ รองศาสตรจารย์ ดร. เพ็ญขวัญ ชมปรีดา ซึ่งเป็นอาจารย์จาก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นแรงบันดาลใจให้ผมมีความสนใจในสาขาดังกล่าว จนผมได้เป็น
นักวิทยาศาสตร์การอาหารในทุกวัน

 

คำถาม ขอให้อาจารย์ช่วยบอกเล่าถึงงานวิจัยที่กำลังศึกษาอยู่ในขณะนี้ ว่ามีความ
น่าสนใจและมีความสำคัญอย่างไร นอกจากนี้ มีความ เป็นไปได้อย่างไร
ที่จะนำไปประยุกต์ใช้ในประเทศไทยต่อไป

งานวิจัยส่วนใหญ่ของผมมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาการผลิตเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ต่างๆ
วิทยาศาสตร์ทางประสาทสัมผัส (Sensory Sciences) และการวิจัยผู้บริโภค ในที่นี้ ผมขอกล่าว
ถึงงานวิจัยที่เกี่ยวกับการใช้สารทดแทนเกลือและการนำไปประยุกต์ใช้ซึ่งเป็นงานวิจัยที่ผมกำลัง
ให้ความสำคัญอยู่ในขณะน

อุตสาหกรรมอาหารทั่วโลกในขณะนี้กำลังให้ความสนใจไปที่การลดปริมาณการบริโภคธาตุโซเดียม
(Sodium levels) ในเกลือ เพื่อการประกอบอาหาร ในประเทศสหรัฐอเมริกา มีความพยายามลด
ปริมาณการใช้เกลือในอาหารโดยจากรายงาน “กลยุทธ์การลดการบริโภคธาตุโซเดียมในประเทศ
สหรัฐอเมริกา” ซึ่งเผยแพร่โดยสถาบันแพทย์อเมริกัน (Institute of Medicine หรือ IOM) รายงาน
ฉบับดังกล่าว ระบุว่าชาวอเมริกันบริโภคธาตุ โซเดียม สูงกว่าปริมาณที่แนะนำถึง 1.5 เท่าตัว ซึ่งส่ง
ผลเสียต่อ ร่างกายหลายๆ อย่าง เช่น โรคความดันสูง สถาบันแพทย์อเมริกัน ได้แนะนำให้องค์การ
อาหารและยาของสหรัฐ (FDA) ยกเลิกหรือ แก้ไขข้อกำหนดการจัดให้เกลือเป็น GRAS (Generally
Recognize As Safe) หรือ การจัดให้เกลือเป็นสารปรุงแต่งที่ปลอดภัยต่อ การบริโภค และมีการ
กำหนดปริมาณการใช้ที่ปลอดภัยในอาหาร แต่ละประเภท

การแก้ไขสถานะ GRAS ของเกลือจะส่งผลกระทบอย่าง มากต่ออุตสาหกรรมและธุรกิจอาหารทั่วโลก
อย่างไรก็ตาม บริษัทผู้ผลิตอาหารแปรรูปรายใหญ่หลายๆ แห่งเริ่มลดการใช้ ปริมาณธาตุโซเดียม
ในกระบวนการผลิตอาหาร ซึ่งเป็นการดำเนิน การด้วยความสมัครใจ จากการสำรวจ กลุ่มผลิตภัณฑ์
ใหม่ พบว่า ผลิตภัณฑ์ที่ออกสู่ท้องตลาดส่วนใหญ่เป็นสูตรที่ได้ มีการลดปริมาณเกลือ ในการผลิต
อาหารนี้แล้วโดยทั่วไปและเป็นจำนวนกว่า 3,000 ผลิตภัณฑ์ที่เริ่ม ออกจำหน่ายตั้งแต่ปี พ.ศ.2552

อย่างไรก็ตาม การลดการ ใช้เกลือในอาหารและการรักษา ความพึงพอใจของผู้บริโภคไป
พร้อมกันนั้นเป็นความท้าทายอย่างหนึ่ง เนื่องจากรสชาติ, กลิ่น และกลิ่นรส ของอาหาร แปรรูป
เป็นปัจจัยสำคัญที่ ทำให้ผู้บริโภคยอมรับใน ผลิตภัณฑ์ การลดจำนวน เกลือในอาหารส่งผล
กระทบ ต่อรสชาติ, กลิ่น และกลิ่นรส ของอาหารที่เปลี่ยนไป

การลดการบริโภคธาตุโซเดียมเป็นปัจจัยที่สำคัญช่วยในการ ลดความเสี่ยงการเกิดโรคความดันสูง
และโรคอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง การใช้เกลือทดแทนเป็นทางเลือกหนึ่งที่ถูกนำมาประยุกต์ใช้ อย่างไรก็ตาม
การใช้สารทดแทนเกลือก็ส่งผลให้อาหารมีรสขม และรสโลหะ จากการศึกษา พบว่า ปัจจุบันสารที่
สามารถช่วยลด ความขมในอาหารมีอย่างน้อย 20 ชนิด ที่สามารถนำมาใช้ร่วม กับเกลือทดแทน (KCl) การใช้เครื่องเทศและสมุนไพรเพื่อ ปรับปรุงกลิ่นและรสชาติของอาหารที่มีเกลือต่ำก็สามารถ
นำมาใช้ เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้เช่นกัน

ปัจจุบันนี้ อาหารไทยกำลังเป็นที่นิยมทั่วโลก แม้ว่าอาหารไทย แช่แข็งพร้อมบริโภคสามารถหาซื้อ
ได้ในร้านขายของชำเอเชีย ทั่วไป แต่สินค้าดังกล่าวยังไม่เป็นที่แพร่หลายในร้านขายของชำ
ทั่วไปในประเทศสหรัฐอเมริกา การส่งออกอาหารไทยยอดนิยม เช่น ผัดไทย และต้มข่าไก่ ทั้งที่
รูปแบบอาหารปกติและอาหารที่มี ปริมาณเกลือต่ำจะช่วยสนับสนุนการแข่งขันทางธุรกิจของ
ประเทศไทยในระยะยาว

ในปี พ.ศ. 2552 ผมได้รับการสนับสนุนจากกระทรวง วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ให้จัดการ
ประชุมเชิงวิชาการเกี่ยวกับ การใช้สารทดแทนเกลือในประเทศไทย ซึ่งการประชุมดังกล่าวได้ รับ
ความสนใจเป็นอย่างมาก ในปีนี้ สำนักงานที่ปรึกษาด้าน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Office of
Science and Technology หรือ OSTC) ได้มีบทบาทสำคัญในการเชื่อมโยงสมาคมนักวิชาชีพ
ไทยในอเมริกาและแคนาดา (Association of Thai Professionals in America and Canada หรือ
ATPAC) กลุ่ม Agro-Industry Team กับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในประเทศไทย เช่น
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (TISTR) กรมวิทยาศาสตร์บริการ (DSS)
และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อ ต่อยอดโครงการสารทดแทนเกลือต่อไป

 

คำถาม ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของสังคม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม
ในปัจจุบัน อาจารย์คิดว่าทิศทางการพัฒนาของ อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร (Agro-
and food-Industry) ในอนาคตจะเป็นไปในทิศทางใด? และมีเทคโนโลยีใดที่สามารถ
นำไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ต่อไปในประเทศไทย

คำว่า “Agro” มาจากคำว่า “agros” ในภาษากรีก ซึ่ง หมายถึง ทุ่งนา หรืออีกนัยหนึ่ง หมายถึง
“เกษตรกรรม” ในหลาย ประเทศที่มีรายได้เฉลี่ยระดับต่ำถึงกลาง (หมายรวมถึงประเทศไทย)
รายได้ส่วนใหญ่ของประชากรที่ยากจนในเขตชนบทมาจากการเกษตรกรรม แม้ว่าความเจริญ
จะขยายตัวมากขึ้น แต่ชุมชนชนบท และความยากจนก็ยังคงเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ การพัฒนา
อุตสาหกรรม การเกษตรและระบบปฏิบัติการหลังการเก็บเกี่ยวจะช่วยเพิ่มรายได้ให้แก่ชุมชน
ชนบท โดยเฉพาะการพัฒนาอุตสาหกรรมทาง

อาหารเกษตรและการเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์แปรรูปทางการเกษตร การแปรรูปอาหารช่วยเพิ่ม
มูลค่าให้แก่สินค้ามากกว่าผลิตภัณฑ์ เกษตรที่ยังไม่ผ่านการแปรรูป และยังเป็นแนวทางการสร้าง
รายได้ ให้แก่ชุมชน ช่วยลดความยากจน และสร้างการเติบโตแบบยั่งยืน และปลอดภัยของ
อุตสาหกรรมอาหารในประเทศไทย

อนึ่ง ความต้องการในอาหารท้องถิ่น เช่น อาหารไทย อาหารอินเดีย และอาหารจีน มีเพิ่มมากขึ้น
ทั่วโลก การส่งออกอาหารแปรรูปและ ผลิตภัณฑ์ เกษตรจากประเทศไทยมีการขยายตัวอย่าง
ต่อเนื่องเพื่อ ให้ธุรกิจสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค และเติบโต อย่างต่อเนื่อง
เกษตรกร ผู้ผลิต และผู้แปรรูปอาหารจำเป็นที่จะ ติดตาม ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง
ความต้องการของ ผู้บริโภค แนวโน้มการบริโภค และกฎหมายควบคุมต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ
กฎหมายข้อบังคับ ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้บริโภคและเทคโนโลยี ใหม่มีความสำคัญอย่างมาก
ต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมการเกษตรในประเทศไทย โดยปัจจัยและเทคโนโลยีที่จะกล่าวถึง
ดังต่อไปนี้ล้วน มีผลกระทบต่ออุตสากรรมเกษตรในอนาคตอันใกล้ปัจจัยแรกได้แก่

กฎระเบียบความปลอดภัยด้านอาหารมาตรฐานอาหารกลางถูก กำหนดขึ้นเพื่อให้ผู้บริโภค
สามารถมั่นใจได้ว่าผลิตภัณฑ์อาหารที่ ตนซื้อนั้นได้มาตรฐาน ปลอดภัย และมีราคาที่สมเหตุผล
นอกจากนี้ มาตรฐานกลางยังช่วยส่งเสริมให้รัฐบาลและอุตสาหกรรมอาหารมีอำนาจในการต่อรอง
กับประเทศอื่นๆ เพื่อสนับสนุนการค้าระหว่าง ประเทศ กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับอาหารมีการ
เปลี่ยนแปลง อยู่เสมอ หน่วยงานต่างๆ ภายใต้กระทรวงเกษตรของประเทศ สหรัฐอเมริกา เช่น
Food Safety and Inspection Service (FSIS)U.N. Department of Health and Human
services (HHS) และ U.S. Food and Drug Administration (FDA) มีการแก้ไข ยกเลิก และสร้าง
มาตรฐานใหม่ๆ ออกมาอยู่ตลอดเวลา ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระบบควบคุมมาตรฐานอาหารของ
ประเทศไทย หากไม่ให้ความใส่ใจหรือแก้ไขให้ทันตลาดโลก

ผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพ ได้มีความต้องการสูงขึ้นโดย เฉพาะในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา
หลักฐานทางวิทยาศาสตร์เพื่อยืนยัน ประโยชน์ของบรรดาอาหารเพื่อสุขภาพ เป็นปัจจัยหนึ่งที่
ช่วย สนับสนุนอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพให้เติบโตใน อนาคต แม้ว่าในปัจจุบันนี้
ยังไม่มีคำจำกัดความที่ชัดเจนสำหรับผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพ แต่ FDA ได้กำหนดประเภท
ของผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพไว้ดังนี้ อาหารทั่วไป (conventional foods) วัตถุเจือปนอาหาร
(food additives) ผลิตภัณฑ์อาหาร เสริม (dietary supplements) และอาหารทางการแพทย์
(Medical foods) อย่างไรก็ตามความต้องการผลิตภัณฑ์อาหาร ในกลุ่มนี้ ยังมีการเติบโตอย่าง
ต่อเนื่อง โดยเฉพาะในกลุ่มอาหาร สุขภาพสำหรับเด็ก เมื่อพูดถึงโอกาสของประเทศไทย
อาจกล่าวว่า สมุนไพรและเครื่องเทศไทยเป็นที่ยอมรับว่ามีส่วนช่วยในการบำรุง สุขภาพและ
การรักษาโรค ดังนั้น จากคุณสมบัติดังกล่าวของสมุนไพร จึงกลายมาเป็นโอกาสที่ดีของผู้ผลิต
และนักการตลาด หากสามารถ ผลิตอาหารที่มีรสชาติอร่อยและก่อให้เกิดประโยชน์แก่ร่างกายได้

ผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพได้มีความต้องการสูงขึ้นโดยเฉพาะ ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา
หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ เพื่อยืนยัน ประโยชน์ของบรรดาอาหารเพื่อสุขภาพเป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วย
สนับสนุนอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อ สุขภาพให้เติบโตในอนาคต แม้ว่าในปัจจุบันนี้ยัง
ไม่มีคำจำกัดความ ที่ชัดเจนสำหรับผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพ แต่ FDA ได้กำหนด ประเภทของ
ผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพไว้ดังนี้ อาหารทั่วไป (conventional foods) วัตถุเจือปนอาหาร (food
additives) ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม (dietary supplements) และอาหารทาง การแพทย์ (Medical foods) อย่างไรก็ตามความต้องการผลิตภัณฑ์ อาหารในกลุ่มนี้ ยังมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในกลุ่มอาหาร สุขภาพสำหรับเด็ก เมื่อพูดถึงโอกาสของประเทศไทย อาจกล่าวว่า สมุนไพรและเครื่องเทศไทยเป็นที่ยอมรับว่ามีส่วนช่วยในการบำรุงสุขภาพและการรักษาโรค ดังนั้น
จากคุณสมบัติดังกล่าวของสมุนไพร จึงกลายมาเป็นโอกาสที่ดีของผู้ผลิตและนักการตลาด
หากสามารถผลิตอาหารที่มีรสชาติอร่อยและก่อให้เกิดประโยชน์แก่ร่างกายได้

อาหารฟาสต์ฟู้ด (Fast Foods) เป็นอาหารที่ถูกพัฒนาขึ้นให้สอดคล้องกับพฤติกรรมการบริโภค
ที่ต้องแข่งกับเวลา ผลิตภัณฑ์ใน กลุ่มนี้ ที่เน้นเป้าหมายสำหรับผู้บริโภควัยเด็กมีแนวโน้มขยาย
ตัวขึ้น อย่างมาก และอัตราการเพิ่มขึ้นของโรคอ้วนในเด็กก็มีมากขึ้นเช่นกัน ทำให้หลายๆ ฝ่าย
เห็นด้วยกับการเพิ่มอาหารเพื่อสุขภาพ เช่น มีเมนูที่เน้นในส่วนประกอบหลักที่เป็นผักและผลไม้
สำหรับเมนู อาหารเร่งด่วนสำหรับเด็ก ปัญหาต่อไปที่ร้านอาหารแบบเร่งด่วน จะต้องตระหนักถึง
คืออะไร? เมื่อทศวรรษที่ผ่านมา ผู้คนตระหนัก ถึงอันตรายของ ไขมันอันตราย (Trans-fat) ทำให้
ผู้บริโภคหันมาให้ ความสนใจกับอาหารไขมันต่ำ อาหารที่มีน้ำตาลต่ำ และอาหารที่มี กากใยสูง กระแสความสนใจล่าสุดคือ อาหารที่มีธาตุโซเดียมต่ำ และสิ่งต่อไปที่จะที่ผู้เชี่ยวชาญจะพูดถึง
ในอนาคต นอกจากปัจจัยด้าน สุขภาพ ความสมดุล ความหลากหลาย และทางเลือกของ
ผู้บริโภค เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ถูกกล่าวถึง

อาหารอินทรีย์ (Organic Foods) เป็นอาหารทางเลือกหนึ่ง ที่กำลังได้รับความนิยมอยู่ในขณะนี้
ตามมาตรฐานของ FDA อาหารอินทรีย์ หมายถึง อาหารที่ผ่านกระบวนการผลิตที่ปราศจากการใช้
ยาฆ่าแมลง ปุ๋ยที่ทำจากสารเคมีหรือมูลสัตว์ ฮอร์โมน การตัดต่อพันธุกรรม และการฉายแสงก่อนที่
จะมีการติดฉลาก สินค้า ว่าเป็นอาหารอินทรีย์ รัฐบาลจะต้องเข้าไปตรวจสอบฟาร์มที่ผลิตอาหาร
บริษัทที่ส่งต่อหรือรับแปรรูปอาหารอินทรีย์จะต้องได้รับ การรับรองเช่นกัน ประเด็นที่อาจจะชะลอ
การเติบโตของตลาด อาหารอินทรีย์คือการขาดแคลนฟาร์มหรือแหล่งผลิตที่ได้มาตรฐาน
ข้อกำหนดดังกล่าว แนวทางการแก้ปัญหาโดยการย้ายกำลังผลิตไปยัง ประเทศที่มีพื้นที่เพาะปลูก
ที่เหมาะสมกับอาหารอินทรีย์ เช่น ประเทศไทย สามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายให้แก่บริษัทผู้ผลิต
อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่ควรคำนึงคือ ความปลอดภัย การเก็บรักษา และสภาวะ การขนส่งจะต้อง
ถูกจัดทำอย่างถูกวิธี

พรีไบโอติก (Prebiotics) และโพรไบโอติก (Probiotics) พรีไบโอติก คืออาหารจุลินทรีย์ที่
ไม่ถูกย่อยในทางเดินอาหารส่วนบน ช่วยส่งเสริมการเติบโตของจุลินทรีย์บางชนิดที่ลำไส้ใหญ่
ซึ่งจะก่อ ให้เกิดผลดีต่อสุขภาพ โพรไบโอติก คือ จุลินทรีย์ที่มีชีวิต เมื่อร่างกาย ได้รับจุลินทรีย์
ชนิดนี้ในจำนวนที่มากพอ ก็จะก่อให้เกิดประโยชน์ ต่อผู้บริโภค ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมามี
ผลิตภัณฑ์อาหารของ ประเทศสหรัฐอเมริกาจำนวนมากที่มีการเติมจุลินทรีย์โพรไบโอติก ลงใน
อาหาร โดยประเภทอาหารส่วนใหญ่จะเป็นอาหารที่มีส่วน ผสม หลักคือนม ทั้งนี้ การใส่
โพรไบโอติกส์ในอาหารประเภทอื่นๆ ก็ยังเป็นที่สนใจและกำลังได้รับการพัฒนาอยู่ในปัจจุบันนี้

โภชนพันธุศาสตร์ (Nutrigenomics) เป็นการศึกษาผลของสารอาหารที่มีต่อพันธุกรรม
ซึ่งความรู้นี้สามารถนำไปใช้ใน การพัฒนา อาหารให้มีคุณสมบัติในการป้องกันและรักษาโรค
สิ่งต่างๆ ที่เราใส่เข้ามาในร่างกาย ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของอาหาร แร่ธาตุ สารอาหาร และยา ล้วนแต่
จะมีผลต่อพันธุกรรมของเรา ซึ่งจะส่งผลต่อสุขภาพที่ดีหรือความเจ็บป่วยของร่างกาย โมเลกุล หรืออนุภาคที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่สามารถส่งผลต่อการแสดงออกของพันธุกรรม เรียกว่า Quinks
เช่น โปรตีน แร่ธาตุ ไขมัน และคาร์โบไฮเดรต พฤติกรรมการบริโภคที่แตกต่างจะทำให้เกิดรูปแบบ
Quink ที่แตกต่างในแต่ละบุคคล ซึ่งตรงกับคำกล่าวที่ว่า “We are what we eat”โภชนพันธุศาสตร์
กำลังได้รับความนิยมใน อุสาหกรรมอาหารในขณะนี้เช่นกัน

 

คำถาม ในความคิดเห็นของอาจารย์ ในปัจจุบันนี้ มีปัจจัยใดที่เป็นโอกาส และอุปสรรคของ
อุสาหกรรมสินค้าอาหารจากประเทศไทยเพื่อเติบโตและขยายตัวมากขึ้นในตลาดโลก?
และมีข้อแนะนำสำหรับ ประเทศไทยอย่างไร?

ตามที่ได้กล่าวไปในเบื้องต้น อาหารไทยกำลังเป็นที่นิยมในหลายๆ ประเทศทั่วโลก ในประเทศ
สหรัฐอเมริกาเองก็มีอาหารไทย และขนมไทยปรุงสำเร็จแช่แข็งจำหน่ายในร้านขายของชำเอเชีย
หลายๆ แห่ง แต่พบว่ายังไม่เป็นที่แพร่หลายในร้านขายของชำใหญ่ๆ อื่นๆ ซึ่งตรงนี้เป็นโอกาส
ที่ดีสำหรับการส่งออกอาหารไทยและ ขนมไทยทั้งในสูตรปกติและสูตรอาหารธาตุโซเดียมต่ำ
โดยเฉพาะ ในตลาดของสหรัฐฯ และยุโรป ส่วนอุปสรรคคือคู่แข่งทางการค้า ที่พยายามจะ
ลอกเลียนสินค้าประเภทนี้ เช่น ประเทศจีน ซึ่งเป็น คู่แข่งสำคัญในตลาดการส่งออก เหตุผลคือ
แม้ว่าผลิตภัณฑ์อาหาร ของจีนอาจจะมีคุณภาพที่ด้อยกว่าแต่ก็มีราคาที่น่าดึงดูดใจมากกว่า

ตามที่ได้กล่าวไปในเบื้องต้น อาหารไทยกำลังเป็นที่นิยมในหลายๆ ประเทศทั่วโลก ในประเทศ
สหรัฐอเมริกาเองก็มีอาหารไทย และขนมไทยปรุงสำเร็จแช่แข็งจำหน่ายในร้านขายของชำเอเชีย
หลายๆ แห่ง แต่พบว่ายังไม่เป็นที่แพร่หลายในร้านขายของชำใหญ่ๆ อื่นๆ ซึ่งตรงนี้เป็นโอกาส
ที่ดีสำหรับการส่งออกอาหารไทยและ ขนมไทยทั้งในสูตรปกติและสูตรอาหารธาตุโซเดียมต่ำ
โดยเฉพาะ ในตลาดของสหรัฐฯ และยุโรป ส่วนอุปสรรคคือคู่แข่งทางการค้า ที่พยายามจะ
ลอกเลียนสินค้าประเภทนี้ เช่น ประเทศจีน ซึ่งเป็น คู่แข่งสำคัญในตลาดการส่งออก เหตุผลคือ
แม้ว่าผลิตภัณฑ์อาหาร ของจีนอาจจะมีคุณภาพที่ด้อยกว่าแต่ก็มีราคาที่น่าดึงดูดใจมากกว่า

จากความคิดเห็นของ ดร. วิฑูรย์ฯ ทำให้เราได้ทราบว่า ทุกวันนี้ วิทยาศาสตร์การอาหารและ
เทคโนโลยีอาหารได้มีการพัฒนา และมีสิ่งใหม่ๆ เกิดขึ้น หลายอย่าง โดยเฉพาะเทคโนโลยีที่
กำลัง เป็นที่สนใจในขณะนี้ คือ การใช้สารทดแทนเกลือเพื่อลดปริมาณ ธาตุโซเดียมในอาหาร
หากหน่วยงานธุรกิจและบริษัทผู้ผลิตมี ความใส่ใจที่จะติดตามศึกษา และนำองค์ความรู้ไป
ประยุกต์ใช้ ต่อไป ความสำเร็จในตลาดผลิตภัณฑ์อาหาร และตลาดส่งออก ผลิตภัณฑ์อาหาร
ระดับโลกก็อยู่ไม่ไกลเกินความสามารถ สำนักงานที่ปรึกษาฯ ขอขอบพระคุณ ดร. วิฑูรย์ฯ ที่แบ่งปัน
ความรู้และข้อแนะนำที่น่าสนใจมากมายให้แก่ทีมงานและผู้อ่าน ณ ที่นี้หากท่านผู้อ่านสนใจและ
ต้องการ ข้อมูลเพิ่มเติมของดร. วิฑูรย์ฯ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ ดังนี้ http://www.lsuagcenter. com/en/communications/authors/wprinyawiwatkul.htm

Reference : http://www.ostc.thaiembdc.org/interview11.html

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *