ส่งต่องานวิจัย “ไส้กรอกลดเกลือโซเดียม” จากห้องแล็บถึงโรงงาน

posted in: Other News, Recents News | 0

  แม้ “เกลือโซเดียม” ที่นิยมปรุงอาหารกันในครัวเรือน จะมีบทบาทในการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ แต่ปริมาณที่มากเกินไปส่งผลให้ความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงให้เกิดโรคหัวใจวาย งานวิจัยเพื่อลดปริมาณโซเดียมในไส้กรอกจึงเป็นอีกทางเลือกในการเลี่ยงอันตรายจากอาหาร ซึ่งล่าสุดได้ส่งต่อสู่การผลิตจริงในโรงงาน วรพงษ์ จีรประภาพงศ์ ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษัท วี แอนด์ พี เฟร็ชฟูดส์ จำกัด ในเครือบริษัทวี.พี.เอฟ ผู้ผลิตเนื้อสุกรซึ่งมีฐานการผลิตในเชียงใหม่ ระบุว่าเกือบ 40 ปีบริษัทได้ดำเนินธุรกิจการผลิตสุกรแบบครบวงจร แต่ที่ผ่านมาเป็นผู้ผลิตที่อยู่เบื้องหลังมาโดยตลอด และเห็นว่าถึงเวลาที่ต้องก้าวออกมาอยู่เบื้องหน้าบ้าง จึงได้เริ่มพัฒนาผลิตภัณฑ์และสร้างแบรนด์ของตัวเอง วี.พี.เอฟ. ได้เริ่มผลิตไส้กรอกระดับพรีเมียมเป็นของตัวเองเมื่อประมาณ 2 ปีที่่ผ่านมา ขณะเดียวกันกระแสความใส่ใจสุขภาพของผู้บริโภคทำให้ทางบริษัทเห็นโอกาสทางบริษัทในการพัฒนาไส้กรอกลดเกลือโซเดียม จากการต่อยอดงานวิจัยโดยความร่วมมือระหว่างสมาคมนักวิชาชีพไทยในอเมริกาและแคนาดา ภายใต้การสนับสนุนการวิจัยโดยสำนักงานที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน งานวิจัยดังกล่าวนำโดย ศ.ดร.วิฑูรย์ ปริญญาวิวัฒน์กุล หัวหน้ากลุ่มอุตสากรรมเกษตร … Continued

Interview : ดร. ประพฤทธิ์ ทรงจิตรักษา

posted in: ATPAC Members Interview | 0

ดร. ประพฤทธิ์ ทรงจิตรักษา นักวิจัยวิศวกรรมด้านการคมนาคมและขนส่งจาก Texas Transportation Institute (TTI) Texas A&M University System (TAMUS) ปัจจุบันปัญหาการจราจรติดขัดและความปลอดภัยในการใช้ยวดยานพาหนะเป็นปัญหาหลักที่ต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วนโดยเฉพาะในเขตกรุงเทพและปริมณฑล กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงได้มีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้ในการพัฒนาคุณภาพของการจราจรและขนส่ง โดยสนับสนุนให้มีการประยุกต์ใช้ระบบการจราจรและขนส่งอัจฉริยะ (Intelligent Transportation System หรือ ITS) ในปี พ.ศ. 2548 ระบบ ITS เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการบริหารการจราจรและขนส่ง ตั้งแต่ระบบโครงสร้างพื้นฐาน การบริหารระบบ และการประเมินผลของระบบ โดยใช้ตัวชี้วัดที่เหมาะสม การบริหารการจราจรจะแบ่งเป็นสองส่วน ส่วนแรกจะเป็นการบริหารระบบสัญญาณควบคุมการจราจรโดยอัตโนมัติ ซึ่งมีใช้ในสหรัฐอเมริกาอย่างแพร่หลาย ระบบดังกล่าวสามารถปรับเปลี่ยนการควบคุมเพื่อให้เหมาะสมกับปริมาณ และลักษณะของผู้ใช้ถนน ส่วนที่สองจะเป็นการบริหารระบบทางด่วน (Freeway management) โดยมีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี … Continued